share

Reduce, Reuse, Recycle, Repair และ Upcycle คืออะไร

237 Views
Reduce, Reuse, Recycle, Repair และ Upcycle คืออะไร

น่าจะได้เห็นกันบ่อยๆ กับคำว่า Recycle ที่เรามักใช้กันอย่างแพร่หลายแต่จริงๆ แล้วมันหมายถึงอะไรกันแน่ แล้ว Reduce, Reuse และ Upcycle ล่ะ มันหมายถึงอะไรกันบ้าง วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกันนะคะ

คำที่เรามักจะเห็นบ่อยตามบทความต่างๆ ทางหน้าหนังสือ หรือบนหน้าเว็บไซต์ ก็คือ Recycle แต่จริงๆ ยังมีอีกสองคำที่ขึ้นต้นด้วยตัว R เหมือนกัน คือ Reduce และ Reuse (หลายคนอาจจะเข้าใจว่า Reuse = Recycle แต่จริงๆ แล้วเป็นคนละอย่างกัน)

หลักการของเหล่านี้ เป็นคำที่บอกให้เราช่วยกันใช้ทรัพยากรของโลกให้คุ้มค่าที่สุดเพื่อช่วยลดขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมช่วยลดสภาวะโลกร้อน ซึ่งก็จะเรียงตามระดับตามความง่ายและประสิทธิภาพ

Reduce

ลด ความหมายคือลดการบริโภคทรัพยากรต่างๆ ลง วิธีนี้เป็นขั้นตอนแรกเพราะทำได้ง่ายที่สุดและดีที่สุด การลดการใช้ทรัพยากรต่างๆ Reduce ลงจะช่วยประหยัดทรัพยากรลงได้อยากมีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างเช่นวิธีง่ายๆ คือการรับประทานอาหารให้หมด แค่นี้ก็ช่วยลดขยะได้อย่างมากมาย หรือ Reduce ลดการใช้ถุงพลาสติก เปลี่ยนมาใช้ถุงผ้าแทน ใครมีถุงผ้าอยู่แล้วลองหยิบมาใช้กันดูสิคะ พกติดกระเป๋าเอาไว้ ถ้าซื้อของอะไรเล็กๆ น้อยๆ ก็หยิบเอาถุงผ้าออกมาใช้แทนถุงพลาสติก แค่นี้ก็สามารถลกปริมาณการใช้พลาสติกต่อวันได้เยอะเลยทีเดียวค่ะ

Reuse

ใช้ซ้ำ คือการที่เรานำเอาของที่ยังใช้ได้กลับมาใช้ซ้ำอีกครั้ง (หรืออีกหลายๆ ครั้งได้ก็ยิ่งดี) เช่นการ Reuse ใช้ถุงพลาสติกใส่ของที่ได้มาจากร้านสะดวกซื้อไปใช้ใส่ขยะ เอาขวดน้ำพลาสติกกลับมา Reuse ใส่น้ำใช้อีกครั้ง หรือว่าจะเอากล่องคุกกี้ที่รับประทานหมดแล้วมา Reuse ใส่ของใช้กระจุกกระจิกต่างๆ วิธีนี้ก็จะช่วยให้ลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรได้อีกระดับนึง

Recycle

คือการนำสิ่งที่เราไม่สามารถที่จะใช้ซ้ำได้แล้ว ซึ่งอาจจะฉีกขาด แตกหัก กลับไปเข้ากระบวนการแปรรูปให้เป็นวัตถุดิบ โดยอาจจะใช้วิธีหลอม Recycle เพื่อนำกลับมาผลิตของขึ้นมาใหม่  เช่น การนำเอาขวดน้ำพลาสติกมาผ่านกระบวนการย่อยให้กลายเป็นเม็ดพลาสติกแล้วนำกลับมา Recycle หลอมขึ้นเป็นเส้นใย นำไปถักเป็นเสื้อยืด หรือการหลอมแก้ว การนำเอากระดาษใช้แล้วมาปั่นทำเป็นกระดาษ Recycle อีกครั้ง วิธีนี้เป็นวิธีที่อยู่ในขั้นสุดท้าย เพราะวิธีนี้จำเป็นจะต้องใช้พลังงานในการแปรรูป ซึ่งก็จะทำให้ต้องใช้ทรัพยากรอย่างเช่นน้ำมันอีกอยู่ดี

Repair

ก็คือการซ่อมแซมของที่เสียแล้ว เช่นโต๊ะ เก้าอี้ ที่ชำรุดก็เอาไปซ่อม Repair ให้ใช้งานได้เหมือนเดิม อาจจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่เสียแล้ว เราก็นำกลับไปซ่อม Repair ให้ใช้งานได้ดีดังเดิม ดีกว่าที่จะต้องทิ้งแล้วซื้อใหม่ ซึ่งจะเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรของโลกมากขึ้น แต่บรรดาผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้ต่างก็ไม่ชอบในข้อนี้ เลยพยายามลดต้นทุนการผลิตจนทำให้การซื้อสินค้ารุ่นใหม่คุ้มค่ากว่าการนำเอารุ่นเก่าไปซ่อม แต่สินค้ารุ่นใหม่ๆ ก็มีอายุการใช้งานที่สั้นลง เพราะใช้วัสดุราคาถูกเพื่อลดต้นทุนการผลิต และจะทำให้ต้องเปลี่ยนรุ่นใหม่ไปเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน

Upcycle

คำนี้เป็นศัพท์ใหม่ ที่ใช้กับการนำเอาเศษวัสดุต่างๆ ที่จะกลายเป็นขยะแล้ว นำกลับมา Upcycle ทำเป็นของใช้ใหม่ นำมาเพิ่มความสวยงาม ใส่ไอเดียใหม่ๆ โดยยังไม่ถึงกับต้องนำไป Recycle อาจจะแค่ตัดแล้วนำมาประดิษฐ์เป็นของใช้หรือของตกแต่งบ้าน เช่น เอาแผ่นโฟมมาทำตราปั๊ม, เอาแผ่นพลาสติกกันกระแทกมาทำเป็นเครื่องประดับ, ไฟราวประดับ Upcycle จากลูกขนไก่, กระถางต้นไม้ Upcycle จากขวดน้ำพลาสติก, ทำ Snow Globe จากขวดเก่า หรือ นำเอากระป๋องนมมาประดับตกแต่งให้สวยงามด้วยผ้าแล้วนำมาใช้เป็นที่ใส่ปากกาเก๋ๆ ซึ่งของที่นำมาดัดแปลงแล้วอาจจะมีความสวยงามจนไม่รู้เลยว่าของเดิมนั้นคืออะไร Upcycle เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งที่กำลังจะกลายเป็นขยะค่ะ

เมื่อเราได้รู้จักกับ Reduce, Reuse, Recycle, Repair และ Upcycle กันแล้ว เพื่อนๆ อาจจะลองมองหาวิธีช่วยลดขยะลงได้จากที่บ้านและการใช้ชีวิตประจำวัน อาจจะเริ่มต้นง่ายๆ จากถุงผ้าก่อนเลย ลองหยิบมาใช้ออกไปซื้อของที่ตลาดใกล้บ้านดูสิคะ เรื่องเล็กๆ แต่สร้างความเปลี่ยนแปลงได้เยอะนะคะ

และเช่นเดียวกับสินค้าของ พราว ที่ออกแบบให้บรรจุภัณฑ์สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก เพื่อหวังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยโลกของเราให้ลดการสิ้นเปลืองทรัพยากร เน้นประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด
 
PROUD น้ำตาลคนไทย...เราภูมิใจที่ส่งต่อสิ่งดีๆให้กับชาวไทย


ที่มา: blisby.com

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy